
การดำเนินการปรับรูปแบบทางการค้าใหม่ด้วยกลยุทธ์ซัพพลายเชนที่ชาญฉลาดกว่าเดิม
ซัพพลายเชนของเอเชียกำลังอยู่ในระหว่างการเปลี่ยนแปลง เนื่องจากการค้าภายในภูมิภาคมีการขยายตัว และศูนย์การผลิตในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้เริ่มกลายเป็นทางเลือกที่มีศักยภาพในการแข่งขัน เอเชียจึงได้กลายเป็นหนึ่งในเครือข่ายการค้าที่เชื่อมโยงถึงกันมากที่สุดในโลก เป็นสองรองเพียงสหภาพยุโรปเท่านั้น
จากการประเมินพบว่า ในปี 2567 ประมาณ 60% ของการค้าในเอเชียได้เกิดขึ้นกับคู่ค้าภายในภูมิภาค ซึ่งเพิ่มขึ้นจาก 53% ในปี 2543 ส่วนแบ่งการค้าภายในภูมิภาคนี้คาดว่าจะเพิ่มขึ้นเป็น 65% หรือคิดเป็น 400,000 ล้านดอลลาร์สหรัฐต่อปีภายในปี 2573
โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ความสัมพันธ์ทางเศรษฐกิจระหว่างจีนและอาเซียนได้มีความแน่นแฟ้นขึ้นอย่างมาก ในปี 2567 การค้าทวิภาคีได้มีมูลค่าถึง 5.67 ล้านล้านหยวน (778.6 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ) ซึ่งเพิ่มขึ้น 8.8% จากปีก่อนหน้า ส่งผลให้อาเซียนยังคงครองตำแหน่งคู่ค้ารายใหญ่ที่สุดของจีนเป็นปีที่ห้าติดต่อกัน
ในขณะเดียวกัน ภาคธุรกิจต้องเผชิญหน้ากับสภาพแวดล้อมทางการค้าที่ซับซ้อน ซึ่งได้รับผลกระทบจากการเปลี่ยนแปลงทางภูมิรัฐศาสตร์ ความไม่แน่นอนทางเศรษฐกิจ และปัญหาด้านซัพพลายเชน ด้วยเหตุนี้ หลายๆ บริษัทจึงได้ปรับโครงสร้างฐานการผลิตของตนใหม่ เพื่อเสริมความยืดหยุ่นและลดความเสี่ยง
การเปลี่ยนแปลงแนวโน้มทางการค้าและการผลิต
แม้ว่าจีนยังคงเป็นศูนย์กลางการผลิตที่สำคัญ แต่อาเซียนก็เริ่มมีบทบาทโดดเด่นมากขึ้น ประเทศอย่างสิงคโปร์ เวียดนาม อินโดนีเซีย และไทย กำลังดึงดูดการลงทุนในอุตสาหกรรมที่มีมูลค่าสูง เช่น เซมิคอนดักเตอร์ อิเล็กทรอนิกส์ และการผลิตยานยนต์
ตัวอย่างเช่น โครงการเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก (EEC) ของไทยกำลังดึงดูดบริษัทด้านยานยนต์, เมืองเซบูในฟิลิปปินส์กำลังก้าวขึ้นเป็นศูนย์กลางแห่งการผลิตสินค้าอิเล็กทรอนิกส์, ชวากลางของอินโดนีเซียกำลังขยายบทบาทในอุตสาหกรรมสิ่งทอและเครื่องนุ่งห่ม และเขตเศรษฐกิจพิเศษยะโฮร์-สิงคโปร์ (JS-SEZ) กำลังดึงดูดการลงทุนจำนวนมากในสาขาต่างๆ เช่น อิเล็กทรอนิกส์ บริการทางการเงิน และการผลิต



การเปลี่ยนแปลงในระดับภูมิภาคนี้ยังได้รับแรงสนับสนุนเพิ่มเติมจาก ข้อตกลงทางการค้า ที่ช่วยเพิ่มการเข้าถึงตลาดและส่งเสริมการบูรณาการทางเศรษฐกิจ ความตกลงที่ครอบคลุมและก้าวหน้าสำหรับหุ้นส่วนทางเศรษฐกิจภาคพื้นแปซิฟิก (CPTPP) และความตกลงหุ้นส่วนทางเศรษฐกิจระดับภูมิภาค (RCEP) กำลังช่วยให้การค้าระหว่างประเทศดำเนินไปอย่างราบรื่นยิ่งขึ้น พร้อมทั้งช่วยลดอุปสรรคทางการค้า ข้อตกลงเหล่านี้ช่วยสนับสนุนให้ภาคธุรกิจสามารถกระจายซัพพลายเชนให้มีความหลากหลาย และวางรากฐานสำหรับการเติบโตในระยะยาว
การเติบโตของอีคอมเมิร์ซเป็นตัวพลิกโฉมซัพพลายเชน
นอกจากนี้ พฤติกรรมของผู้บริโภคออนไลน์ยังมีบทบาทสำคัญในการปรับรูปแบบซัพพลายเชนใหม่อีกด้วย เอเชียเป็นที่ตั้งของ 5 ใน 10 ตลาดค้าปลีกออนไลน์ที่ใหญ่ที่สุดในโลก และคาดว่าอีคอมเมิร์ซในภูมิภาคนี้จะมีมูลค่าสูงเกิน 7 ล้านล้านดอลลาร์สหรัฐภายในปี 2573
การเติบโตอย่างรวดเร็วนี้ได้เปลี่ยนพฤติกรรมการจับจ่ายของผู้บริโภคอย่างมาก โดยตามธรรมเนียมแล้ว ฤดูกาลค้าปลีกจะอยู่ในช่วงตั้งแต่วันคนโสด (11 พฤศจิกายน) ไปจนถึงช่วงตรุษจีน อย่างไรก็ตาม เนื่องจากอีคอมเมิร์ซที่เป็นสิ่งที่ทำให้มีอุปสงค์เกิดขึ้นตลอดทั้งปี ธุรกิจจึงจำเป็นต้องคิดปรับกลยุทธ์ด้านการวางแผนสินค้าคงคลังและการคาดการณ์ความต้องการขึ้นใหม่
เพื่อรักษาความสามารถในการแข่งขันไว้ บริษัทต่างๆ กำลังขยับขยายตัวออกจากโมเดลสินค้าคงคลังแบบ "ทันเวลาพอดี" ไปเป็นกลยุทธ์อย่าง "เผื่อไว้" และ "สร้างตามการคาดการณ์" วิธีการเหล่านี้จะช่วยเพิ่มความยืดหยุ่นได้มากกว่า ทำให้ธุรกิจสามารถตอบสนองต่อความผันผวนของความต้องการพร้อมกับสามารถควบคุมต้นทุนได้อย่างมีประสิทธิภาพ ความสามารถในการปรับขนาดการดำเนินงานแบบไดนามิกกลายเป็นข้อได้เปรียบสำคัญในตลาดปัจจุบันที่เปลี่ยนแปลงอยู่เสมอ
เทคโนโลยีคือข้อได้เปรียบในการแข่งขัน



ในภูมิทัศน์การดำเนินงานที่เปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วนี้ ความสามารถในการปรับตัวอย่างคล่องแคล่วเมื่อต้องเผชิญกับความไม่แน่นอนกลายเป็นสิ่งสำคัญสำหรับธุรกิจ บริษัทต่างๆ จึงต้องวางแผนรับมือสถานการณ์อย่างรอบด้าน เพื่อเตรียมพร้อมกับเหตุการณ์ที่ไม่คาดคิด ตั้งแต่สภาพอากาศรุนแรงไปจนถึงวิกฤติเศรษฐกิจ
เพื่อรับมือกับความท้าทายเหล่านี้ ธุรกิจต่างๆ จึงหันมาใช้เทคโนโลยีและโซลูชันที่ขับเคลื่อนด้วย AIมากขึ้น เครื่องมือเหล่านี้ช่วยเพิ่มประสิทธิภาพในการคาดการณ์ การวางแผนสถานการณ์ และการจัดการความเสี่ยง ช่วยให้บริษัทสามารถรับมือกับความไม่แน่นอนได้ตลอด
ในปัจจุบัน โซลูชันที่ขับเคลื่อนด้วย AI กำลังเข้ามาเปลี่ยนแปลงการจัดการซัพพลายเชน โดยช่วยให้ธุรกิจสามารถคาดการณ์ความเสี่ยง ทำนายการเปลี่ยนแปลงของความต้องการ และกระจายการดำเนินงานได้อย่างแม่นยำมากขึ้น ด้วยการใช้ประโยชน์จากข้อมูลเชิงลึกเหล่านี้ บริษัทต่างๆ จึงสามารถเพิ่มศักยภาพด้านโลจิสติกส์ เพิ่มประสิทธิภาพของสินค้าคงคลัง และปรับตัวต่อความผันผวนของตลาดได้อย่างรวดเร็ว เพื่อเสริมสร้างความยืดหยุ่นในสภาพแวดล้อมที่คาดเดายาก
เสริมสร้างเครือข่ายโลจิสติกส์ เพื่อการเติบโตในอนาคต
ในสภาพแวดล้อมการค้าที่เปลี่ยนแปลงอย่างไม่หยุดนิ่งในปัจจุบัน ยิ่งธุรกิจผสมผสานความยืดหยุ่นเข้าไปในซัพพลายเชนได้มากเท่าไร ก็จะยิ่งมีความพร้อมในการรับมือกับความขัดข้องและฟื้นตัวได้อย่างรวดเร็วมากขึ้นเท่านั้นส่วนสำคัญอย่างหนึ่งของความสามารถในการปรับตัวนี้อยู่ที่ความแข็งแกร่งของโครงสร้างพื้นฐานด้านโลจิสติกส์
เมื่อธุรกิจต่างๆ ขยายและกระจายซัพพลายเชนของตนมากขึ้น ธุรกิจจำเป็นต้องเข้าถึงเครือข่ายการขนส่งที่สามารถตอบสนองต่อรูปแบบการค้าที่เปลี่ยนแปลงตลอดได้อย่างทันท่วงที พร้อมเชื่อมต่อกับตลาดสำคัญต่างๆ ได้อย่างรวดเร็ว ยืดหยุ่น และเชื่อถือได้
FedEx ได้ทำการขยายเครือข่ายเพื่อรองรับความต้องการเหล่านี้ ตัวอย่างเช่น เมื่อเร็วๆ นี้เราได้ยกระดับการเชื่อมต่อระหว่างเอเชียตะวันออกเฉียงใต้กับสหรัฐฯ ด้วยการเปิดเที่ยวบินตรงเที่ยวแรกจากสิงคโปร์ไปยังแองเคอเรจ และเที่ยวบินขนส่งสินค้า 737F ที่เชื่อมเมืองกูจิงในมาเลเซียเข้ากับสิงคโปร์ ซึ่งเป็นการเชื่อมโยงธุรกิจเข้ากับเครือข่ายระดับโลกของเรา



นอกจากนี้ เรายังเพิ่มเที่ยวบินสัปดาห์ละ 4 เที่ยวจากนครโฮจิมินห์ เชื่อมเอเชียเข้ากับยุโรปผ่านศูนย์ FedEx เอเชียแปซิฟิกในกวางโจว ประเทศจีน และได้ขยายเที่ยวบินขนส่งสินค้าจากชิงเต่าและเซี่ยเหมินไปยังสหรัฐฯ เพื่อเพิ่มโอกาสในการเข้าถึงเส้นทางการค้าระหว่างประเทศให้กับธุรกิจ การยกระดับเชิงกลยุทธ์เหล่านี้ช่วยให้บริษัทในอุตสาหกรรมต่างๆ สามารถขนส่งสินค้าได้อย่างมีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น
อนาคตของการค้าโลกจะขึ้นอยู่กับความยืดหยุ่นและความสามารถในการปรับตัวของซัพพลายเชนในเอเชีย ธุรกิจที่ให้ความสำคัญกับการกระจายความเสี่ยงในระดับภูมิภาค มีการนำเทคโนโลยีมาใช้ และใช้ประโยชน์จากเครือข่ายโลจิสติกส์ที่แข็งแกร่งก็จะมีความพร้อมในการรับมือกับภูมิทัศน์ทางเศรษฐกิจที่เปลี่ยนแปลงเสมอได้